เมนู

เป็นไป. บทแห่งทิฏฐิทั้งหลาย ชื่อว่าอธิมุตติบท อธิบายว่า ถ้อยคำที่
แสดงทิฏฐิ. แห่งอธิมุตติบทเหล่านั้น.
บทว่า ทิฏฺฐิโวหารา อภิญฺญาสจฺฉิกิริยาย ความว่า เพื่อประโยชน์
แก่การรู้แล้วทำให้ประจักษ์. บทว่า วิสารโท ได้แก่ ถึงโสมนัสที่ประกอบ
ด้วยกาย. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ในธรรมเหล่านั้น. บทว่า เตสํ เตสํ ตถา
ตถา ธมฺมํ เทเสตุํ ความว่า เพื่อทรงรู้อาสยะ อัธยาศัยที่ดีของเหล่าสัตว์
นั้นๆ ผู้มีทิฏฐิ หรือนอกจากนี้ แล้วทรงแสดงธรรมโดยประการนั้นๆ.
บทว่า หีนํ วา หีนนฺติ ญสฺสต ความว่า หรือจักรู้ธรรมเลวว่าเป็นธรรมเลว.
บทว่า ญาตยฺยํ แปลว่า พึงรู้. บทว่า ทิฏฺฐิยฺยํ แปลว่า พึงเห็น. บทว่า
สจฺฉิกตยฺยํ แปลว่า พึงทำให้แจ้ง. บทว่า ตตฺถ ตตฺถ ยถาภูตญาณํ
ได้แก่ ญาณที่รู้ตามความเป็นจริงในธรรมนั้น ทรงแสดงพระสัพพัญญุต-
ญาณอย่างนี้แล้ว เมื่อทรงแสดงพระทศพลญาณอีก จึงตรัสว่า ทสยินานิ
เป็นต้น. จริงอยู่ แม้พระทศพลญาณ ก็คือพระญาณที่รู้ตามเป็นจริงใน
ธรรมนั้น ๆ นั่นเอง.
จบอรรถกถาอธิมุตติสูตรที่ 2

3. กายสูตร


ว่าด้วยธรรมที่ละด้วยกายวาจาไม่ได้ แต่ละได้ด้วยปัญญา


[23] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันบุคคลพึงละด้วยกาย มิใช่
ด้วยวาจา มีอยู่ ธรรมอันบุคคลพึงละด้วยวาจา มิใช่ด้วยกาย มีอยู่
ธรรมอันบุคคลพึงละด้วยกายไม่ได้ พึงเห็นชัดด้วยปัญญาแล้วจึงละได้ มีอยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันบุคคลพึงละด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจาเป็นไฉน